วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่7 เรื่องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

กฎหมายการศึกษา
คำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9 โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาการนำคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน [2] ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียนเพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำสื่อสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
ปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
       แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547 - 2549)
แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[3]
การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
       การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
       
วิชาชีพ
การเรียนการสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ผู้ที่จบทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษา แล้วทำงานในวิชาชีพนี้เรียกว่า นักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเท่าที่พบในประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีตำแหน่ง "นักเทคโนโลยีการศึกษา" ปรากฏอยู่ ส่วนตำแหน่งดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ได้แก่นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานงานโสตทัศนศึกษา และ ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา [4] ที่ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น